วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การบริหารจัดการโรงเรียน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการศึกษา

ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในหมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษา มาตร 22 ที่กำหนดว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลัก ว่าผู้ดรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน   สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและตามศักยภาพ   ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการปฏิรูปการศึกษาที่พระราชบัญญัติกำหนดให้เกิดขึ้น ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการปฏิบัติต่อตัวผู้เรียนของสถาบบันการศึกษา

           ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับจะต้องนำไปคิดและแยกแยะดัดแปลงวิธีการปฏิบัติให้เหมาะสม และสอดคล้องกับงานในบทบาทและหน้าที่ ๆ ตัวเองรับผิดชอบ โดยเฉพาะโรงเรียนซึ่งถือเป็นองค์กรหลัก และหน่วยงานปฏิบัติสุดท้ายที่สัมผัสกับผู้เรียนโดยตรง ที่จะต้องทำให้ผู้เรียนที่ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนออกไป ให้มีคุณสมบัติและลักษณะ เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนด ซึ่งก็ขึ้นกับวิธีการบริหารจัดการของแต่ละโรงเรียน
          แล้วจะดำเนินการบริหารจัดการอย่างไร จึงมีผลตอบสนองต่อแนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ในที่นี้ขอเสนอเป็นมุมมองในอีกมิติหนึ่ง เพื่อ ให้เป็นทางเลือกในการจัดกระบวนการบริหารงาน ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ในการบริหารจัดการตามลำดับ ดังนี้
         1.  ตัวผู้บริหารโรงเรียนถือว่าเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด จะต้องทำตัวมีศรัทธาและมีทัศนคติต่อหลักการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ท ำให้เกิดความกระจ่างขึ้นในใจของตนเอง จนมองเห็นเป็นภาพรวมสุดท้ายของผลผลิต ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน   เพราะถ้าผู้บริหารโรงเรียนมองไม่ออกและบอกไม่ได้ ก็เปรียบเสมือนกับกัปตันเรือที่เดินเรือโดยปราศจากแผนที่และเข็มทิศไม่สามารถบอกลูกเรือได้ว่าเรือกำลัง วิ่งไปในทิศทางใด ที่หมายอยู่ทางทิศไหน ทำให้เกิดการหลงทางได้ง่าย ๆ
                ถ้าจะทำให้ผลสำเร็จของการจัการศึกษา      เป็นตามแนวทางและหลักการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ต้องเริ่มที่ตัวผู้บริหารโรงเรียนก่อน ต้องสามารถมองเห็นภาพรวมสุดท้ายที่ต้องการให้เกิดออกและมีความตั้งใจที่จะทำให้เกิดกับเด็กนักเรียน   ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพความพร้อมและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
                2.  กำหนดแนวปฏิบัติในการพัฒนาครู โดยดำเนินการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทัศนคติของครูและบุคลากร เมื่อผู้บริหารโรงเรียนมีทัศนคติและควมเข้าใจในหลักการจัดการศึกษา   ก็ต้องถือว่าเป็นภารกิจและหน้าที่ของผู้บริหาร ที่จะขยายและขายความคิดชักจูงใจให้ครูและผู้ร่วมงาน    ให้มีความรู้และความเข้าใจจนสามารถมองภาพรวมสุดท้ายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนได้ตรงกันกับผู้บริหาร   แล้วร่วมกับคณะครูกำหนดมาตรการและวิธีการปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนให้ไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
                3.  ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลนักเรียน ผู้บริหารต้องดำเนินการให้มีการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเด็กนักเรียนและครูเป็นประจำ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเป็นเครื่องมือในการบริหาร โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้
                    3.1  ก่อนสิ้นปีการศึกษาทุกครั้ง ผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูนำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนทั้งปี    มาปรึกษาหารือกันก่อนหรือช่วงปิดภาคเรียน    แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และปรับปรุงแนวปฏิบัติร่วมกันในการจัดการเรียนการสอสนในปีการศึกษาต่อไป
                    3.2  ดำเนินการมบหมายงานในหน้าที่และการจัดการครูเข้าชั้นเรียนใหม่ จะต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนปิดภาคเรียน เพื่อให้ครูได้มีการมอบหมายงานและส่งต่อข้อมูลการเรียนระหว่างชั้นให้ครูคนใหม่ได้ทันที
                    3.3  ผู้บริหารดรงเรียนรู้จักดรงเรียนและครูเป็นรายบุคคล การรู้จักโรงเรียนไม่ได้หมายความว่ารู้โรงเรียนชื่ออะไร ตั้งอยู่ที่ไหน มีพื้นที่เท่าไหร่ มีอาคารกี่หลัง แต่หมายถึงการรู้อย่างลึกซึ้นทุกแง่ทุกมุม สามารถบอกได้ว่าโรงเรียนมีจุดเด่น จุดด้อยอะไร มีอะไรเป็นโอกาศ และอุปสรรค การรู้จักครูและบุคลากรเช่นเดียวกันก็ต้องรู้จักครูและบุคลากรอย่างลึกซึ้ง ยิ่งผู้บริหารโรงเรียนได้รู้จักครูและบุคลากรได้มากเท่าไรก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานมากเท่านั้น
                    3.4  ให้ครูทำหน้าที่ในโรงเรียนเสมือนดั่งเป็นยหมอที่ปฏิบัติงานรักษาโรคภัยในโรงพยาบาล จะผิดกันก็แต่เพียงครูทำหน้าที่รักษาโรคโง่และอาการพร่องทางการเรียน จัดการเรียนการสอนตาม ข้อมูลของอาการและข้อบกพร่องที่พบ โดยกำหนดให้ครูจัดเก็บข้อมูลเด็กเป็นรายบุคล แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
                        1) เด็กที่เข้าเรียนใหม่ ให้ครูจดบันทึกข้อมูลผู้เรียนที่เข้าใหม่ เป็นรายบุคคลให้รอบ ด้านเหมือนหมอซักประวัติผู้ป่วย โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจสุขภาพร่างกาย ตรวจสอบพัฒนาการ สัมภาษณ์ผู้ปกครอง นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์แยกแยะหาจุดส่งเสริมและพัฒนา แล้วจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูลประจำตัวนักเรียน ให้ครูเก็บไว้ประจำห้องเรียน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้ประโยชนืในการจัดการเรียนการสอน และบันทึกผลความก้าาวหน้า และการเปลี่ยนแปลงในระหว่างเรียนตลอดทั้งปี
                        2) เด็กที่เข้าเรียนแล้ว เมื่อสิ้นปีการศึกษาให้ครูประจำชั้นเรียนใหม่นำข้อมูลในข้อ 1 ที่ได้รับการส่งต่อมาสรุปวิเคราะห์ เพื่อหาจุดในการส่งเสริมพัฒนา    ให้สอดคล้องและต่อเนื่องกันไปในชั้นเรียนใหม่
                4.  การจัดการเรียนการสอน   ครูนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของเด็กในชั้นเรียน โดยยึดถือหลักการปฏิบัติดังนี้
                    4.1  ครูงวางแผนการสอนเป็นทีม กำหนดแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน ในแต่ละวิชาให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยเน้นการพัฒนาและส่งเสสริมศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เป็นสำคัญ
                    4.2  ให้ครูจัดการเรียนการสอน   โดยเน้นการบูรณาการในการเรียนการสอนในทุกวิชา ได้ตลอดเวลาให้เป็นการสอนที่เน้นการแก้ปัญหา     และกระบวนการพัมนาทักษะการเรียนรู้ขของผู้เรียนร่วมกันมากกว่าต่างคนต่างสอน         เพื่อยัดเยียดเนื้อหาไปตามวิชาที่ตนเองรับผิดชอบเด็กทุกคนต้องสามารถแสดงผลผลิตหรือความสามารถออกมาในรูปโครงงาน อย่างน้อยคนละ 1 โครงงานต่อภาคเรียน
                    4.3  ให้มีการประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง โดยนำผลงานและพฤติกรรมของผู้เรียน ที่แสดงออกระหว่างเรียนเป็นเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ แล้วรวบรวมไว้ในรูปของ แฟ้มพัฒนาผู้เรียน
                    4.4  กำหนดให้มีการรายงานผลหรือจัดนิทรรศการแสดงผลการพัฒนาของผู้เรียนในแต่ละปี เสนอต่อผู้ปกครองหรือสาธารณชน
                    4.5  ทำโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดดยทำบรรยากาศในโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนมากกว่าโรงสอน ทำสถานที่ บุคคล ตลอดทั้งอุปกรณืและกิจกรรมภายในดรงเรียนเป็ฯแหล่งเรียนร ู้สำหรับเด็กนักเรียนตลอดเวลาและไม่จำกัดสถานที่ ตารางสอนยืดหยุ่นได้ตลอดเวลา
                5. ให้ความสำคัญกับผู้ปกครองและชุมชน     โรงเรียนเกิดขึ้นมาก็เพื่อทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน หากประชาชนไม่ต้องการโรงเรียนก็อยู่ไม่ได้ เพราะโรงเรียนเป็น สถาบันหนึ่งที่สังคมกำหนดให้เกิดขึ้น เพื่อให่มีบทบาทเป็นสถานที่ฝึกอบรมคนในสังคม    ให้สามารถสืบทอดและรกษาค่านิยมประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมนั้น ๆ ตลอดทั้งเป็นสถานที่ฝึดหัดให้คนมีศักยภาพในการดำรงชชชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ดังนั้น โรงเรียนจึงต้องถือว่าเป็นหน้าที่หนึ่งที่สำคัญที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้ตองงสนองต่อความต้องการของลูกค้าคือผู้ปกครองและประชาชน ว่า เขาต้องการให้โรงเรียนผลิตสินค้าและบริการในลักษณะใด   โรงเรียนต้องเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้เสนอความต้องการและมาตรฐานที่ชุมชนและผู้ปกครองต้องการ เพื่อให้เกิดการผสมผสานแนวความคิด และมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียนให้ตอบสนองต่อศักยภาพโรงเรียนและชุมชน    ซึ่งจะเป็นการส่งผลดีต่อการให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน ในการพัฒนด้านต่าง ๆ
                 การจัดการบริหารโรงเรียนให้เป็นองค์กร แห่งการส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ได้ดี     ผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มองภาพของผลิตทางการศึกษาในอนาคตที่ควรจะเป็นให้ออก บอกคนอื่นและผู้ร่วมงานให้ได้ ก็จะทำให้การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนไม่หลงทาง เพราะภารกิจของโรงเรียนก็คือการจัการกับปัจจุบัน เพื่อพัฒนาบุคคลสู่อนาคตไม่ได้ทำเพื่อวันนี้ แต่ต้องทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อ  ให้ผู้เรียนโตขึ้นเป็นบุคคลแห่งอนาคตที่มีคุณภาพตามที่สังคมต้องการ ดังนั้นการทำวันนี้ให้ดีที่สุด      ผู้บริหารต้องรู้จักมองอดีต กำหนดแนวทางปฏิบัติในปัจจุบัน เพื่อวาดฝันไปสู่อนาคต อยู่บนบานของข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริง มีเหตุผล นำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ภายใต้ความร่วมมือของบุคคลทุกฝ่ายในสังคม ตามข้อเสนอข้างต้น
.....แหล่งที่มา.....http://www.moe.go.th/wijai/management.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น